
ตามที่กรมศุลกากร ได้ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ และตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ประจำปี 2556 จำนวน 190 อัตรา
ซึ่งได้เปิดรับสมัครสอบไปแล้วเมื่อวันที่ 28 มีนาคม - 23 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา และได้ทำการสอบข้อเขียน ภาค ข. ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2556 ทีอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ขณะนี้กรมศุลกากรได้ประกาศผลสอบแล้ว ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้สอบผ่าน และสามารถเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ได้ที่เว็บไซต์ http://job.customs.go.th
สำหรับการสอบในภาค ค. มีหลักเกณฑ์ดังนี้
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ต้องเข้ารับการประเมินตามที่
กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ ทดสอบความเหมาะสม โดยวิธี
สอบสัมภาษณ์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ดังนี้
ประเมินผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ จากการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ทดสอบความเหมาะสม โดยวิธีทดสอบ
สมรรถภาพทางร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ ดังนี้
(1) ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย (ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด)
(1.1) ว่ายน้ำแบ่งตามเกณฑ์ ดังนี้
ชาย ระยะทาง 25 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 30 วินาที ถือว่าผ่าน
หญิง ระยะทาง 25 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 50 วินาที ถือว่าผ่าน
จึงจะมีสิทธิ์เข้าทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายโดยการวิ่ง ต่อไป
(1.2) วิ่ง แบ่งตามเกณฑ์
ชาย ระยะทาง 1,000 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 5 นาที 15 วินาที ถือว่าผ่าน
หญิง ระยะทาง 800 เมตร ผู้ทำเวลาไม่เกิน 6 นาที ถือว่าผ่านจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ ต่อไป
(2) การสอบสัมภาษณ์คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ประเมินผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ จากการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น